ประวัติของดนตรีสากล
ดนตรีไม่ว่าจะเป็นของชาติใด ภาษาใด ล้วนมีพื้นฐานมาจากส่วนต่างๆ เหล่านี้ทั้งสิ้น ความแตกต่างในรายละเอียดของแต่ละส่วนแต่ละวัฒนธรรมนั้น เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง แต่การที่จะแตกต่างกันอย่างไรนั้น กรอบวัฒนธรรมของแต่ละสังคมจะเป็นปัจจัยที่กำหนดในตรงตามรสนิยมของแต่ละวัฒนธรรมจนเป็นผลให้สามารถแยกแยะดนตรีของชาติหนึ่งแตกต่างจากดนตรีของอีกชาติหนึ่งอย่างไร
สมัยกรีก ( Ancient Greek music )
อารยธรรมโบราณทางภาคพื้น ยุโรปตะวันออก เกิดทีหลังภาคพื้นเอเชียตะวันออกซึ่งเกิดขึ้นก่อนคริสต์ศักราช 3,000 ปี ความเจริญในศิลปวัฒนธรรมของยุโรปตะวันออกเกิดขึ้นเมื่อ 1,000 ปี ก่อนคริสต์ศักราช ความเจริญดังกล่าว สูงสุดอยู่ที่ประเทศกรีกซึ่งยกย่องดนตรีเป็นสิ่งศักดิ์สิทธ์สามารถใช้ในการชำระล้างบาปและมลทินทางใจได้สามารถรักษาบำบัดโรคภัยไข้เจ็บได้ นอกจากนี้ดนตรียังได้รับการยกย่องเป็นศิลปะชั้นสูงควรแก่การศึกษา
วัฒนธรรมตะวันตกถูกผูกติดอยู่กับชาวกรีกโบราณและชาวโรมันอย่างปฎิเสธไม่ได้ความสมบูรณ์ความยอดเยี่ยมของความสวยงาม และศิลปะมีต้นกำเนิดจากกรีก รวมทั้งทางปรัชญาของกรีก ประวัติของดนตรีกรีกโบราณตั้งแต่เริ่มต้นถึง ปี ก่อนคริสต์กาล (330 B.C.) เมื่อวัฒนธรรมของกรีกแยกเป็น 2 สาย คือ 330 สายที่ 1 ทางตะวันออก (Alexander the Great) และสายที่ 2 ทางตะวันตก (ตามชาวโรมัน) นอกจากนี้ดนตรีกรีกยังแบ่งออกเป็นยุดต่าง ๆ
1.ยุคกลาง (The Middle Ages : ค.ศ. 450 - 1450)
ดนตรียุคกลางส่วนใหญ่เป็นเพลงร้อง เครื่องดนตรีมีหลายชนิด แต่มีบทบาทเพียงแค่ใช้เล่นคลอประกอบการร้องเท่านั้น จากหลักฐานมีโน๊ตเพลงต้นฉบับเพียง 2 ใน 3 เพลงเท่านั้นซึ่งเป็นหลักฐานแสดงถึงการประพันธ์เพลงให้กับเครื่องดนตรีบรรเลงเด่นเป็นพิเศษเท่านั้น เมื่อพิจรณาจากภาพเขียนในยุคกลางแล้ว วิเคราะห์ได้ว่ามีการใช้เครื่องดนตรีไม่มากชิ้น คริสต์จักรในยุคกลางยังไม่ให้ความสำคัญกับเครื่องดนตรีมากนัก เพราะถือว่าเป็นเครื่องมือที่ใช้บรรเลงในการประกอบพิธีกรรมของคนต่างศาสนา ต่อมาประมาณ ค.ศ. 1100 จึงเริ่มมีการใช้เครื่องดนตรีในโบสถ์มากขึ้น โดยใช้ออร์แกน (organ) เป็นหลักในการบรรเลงดนตรีประกอบพิธีกรรมทางศาสนาคริสต์ เพลงร้องในสมัยกลางได้แก่ เพลนซานท์ (plainchant) ออกานุม (organum) โมเทต (motet) และเพลงนอกวัด (secular music) เป็นต้น
2. ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (The Renaissance : ค.ศ. 1450 - 1600)
ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการกินเวลานานประมาณ 150 ปี ยุคนี้เป็นยุคของลัทธิมนุษยนิยมซึ่งถือว่ามนุษยืมีความสำคัญยิ่งกว่าสิ่งอื่น ๆ ที่พระผู้เป็นเจ้าทรงสร้าง ศิลปวิทยาการด้านต่าง ๆ เจริญก้าวหน้าเป็นอย่างมาก ศิลปิน นักคิด นักเขียน และนักดนตรี ที่เคยถูกคริสต์จักรควบคุมในด้านความคิดหลุดพ้นจากความเชื่ออันงงมงายของยุคกลาง มีการฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมของกรีกและโรมันขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง และจะพัมนาไปสู่ยุคอื่น ๆ ในประวัติศาสตร์ยุโรปต่อไป
3. ยุคบาโรก (The Baroque Period : ค.ศ. 1600 - 1750)
ยุคนี้กินเวลาประมาณ 150 ปี เป็นยุคของความตื่นตัวทางภูมิปัญญาและการใช้เหตุผลเป็นวิทยาศาสตร์ เป็นยุคของการล่าอาณานิคมและแสวงหาแหล่งวัตถุดิบสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมในต่างแดน เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างอันเป็นผลมาจากการที่กาลิเลโอ (Galileo : ค.ศ. 1564 - 1642) พบทฤษฎีใหม่ว่าดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาลมิใช่โลกตามที่เคยเชื่อกันมา การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ทำให้วิทยาการเจริญก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ มีการค้นพบกฎคณิตศาสตร์ และการประดิษฐ์กล้องโทรทัศน์ของนิวตัน ฯลฯ
4. ยุคคลาสสิก (The Classical Period : ค.ศ. 1750 - 1820)
ยุคคลาสสิกกินเวลาประมาณ 70 ปี เป็นยุคที่ยึดถือเหตุผลสืบต่อจากยุคบาโรก นักปรัชญาและนักเขียนคนสำคัญของยุคคือวอลแตร์และดิเดโรต์ ยุคนี้เรียกอีกอย่างว่ายุคแห่งแสงสว่าง ทางด้านดนตรีมีการพัฒนาการแต่งเพลง symphony, concerto, chamber music, opera และจัดรูปแบบของวงดุริยางค์ขนาดใหญ่ (orchestra) และวงดนตรีขนาดเล็ก (chamber music) ให้เป็นแบบมาตรฐาน ดนตรีที่ใช้เล่นกับวงดนตรีสตริงควอเทต (String Quartet) มีผู้นิยมแต่งมาจนถึงปัจจุบัน
5. ยุคโรแมนติก (the Romantic Period : ค.ศ. 1820 - 1900)
ยุคโรแมนติกกินเวลาประมาณ 80 ปี เป็นยุคที่ศิลปินสร้างผลงานซึ่งมุ่งเน้น การแสดงออกถึงอารมณ์ความรู้สึก ตลอดจนจินตนาการและความอิสระเป้นตัวของตัวเองในการแสดงออก ผู้นำดนตรีรูปแบบใหม่จากยุคคลาสสิกเข้าสู้ยุคโรแมนติก คือ บีโทเฟน(Bethoven : ค.ศ. 1770 - 1827) คีตกวีชาวเยอรมัน
6. ยุคคริสต์ศตวรรษที่ 20 (The Twentieth Century : ค.ศ. 1900 - ปัจจุบัน)
ยุคคริสต์ศตวรรษที่ 20 หรือยุคสมัยใหม่ (The Modern Age) เริ่มจากเหตุการณ์ที่นำไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 1 ในยุโรป ดนตรีในยุคคริสต์ศตวรรษที่ 20 ได้รับอิทธิพลมาจากยุคโรแมนติกในการแสดงออกทางอารมณ์ ความรู้สึก ความเป็นอิสระเป็นตัวของตัวเอง การเน้นทำนองที่เกิดจากอารมณ์รุนแรง สีสันของคอร์ดประสานที่เป็นลักษณะเด่น ส่วนประกอบของดนตรีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก เช่น มีการพัฒนาเครื่องดนตรีใหม่เกิดขึ้น เช่น ไวโอลิน 5 สาย กีตาร์ไฟฟ้า คีย์บอร์ดไฟฟ้า ที่เลียนเสียงปรากฏการณ์ธรรมชาติได้ใกล้เคียง เครื่องขยายเสียง เครื่องบันทึกเสียง
International Music
โครงงานเรื่องดนตรีสากล 3/5*53
ประวัตินักดนตรี
Musician
อ้อมพร โฆวินทะ
อ้อมพร โฆวินทะ ได้รับการปลูกฝังความรักดนตรีจากโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัยตั้งแต่วัยเยาว์ และเริ่มเรียนไวโอลินเมื่ออายุ 13ปี กับอาจารย์ชูชาติ พิทักษากร หลังจากจบการศึกษาระดับมัธยมจากโรงเรียนมาแตร์ เดอี วิทยาลัย และโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาแล้ว ได้เข้าศึกษาในระดับปริญญาตรีที่ภาควิชาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยจบด้วยคะแนนเกียรตินิยมในปี 2540 อ้อมพรเข้าร่วมกิจกรรมดนตรีต่างๆมากมายในขณะกำลังศึกษาอยู่ เช่น Asean Youth Music Work Shop และ วงดุริยางค์เยาวชนไทย ซึงเธอเคยได้รับตำแหน่งหัวหน้าวงด้วย ในปี 2541 อ้อมพรได้รับทุนจาก Hong Kong Academy for Performing Artsให้เรียนไวโอลินกับอาจารย์ Micheal Ma เป็นเวลา1ปี เมื่อได้กลับมาประเทศไทยอ้อมพรได้เรียนไวโอลินเพิ่มเติมจากอาจารย์ทัศนา นาควัชระ อ้อมพรเดินทางไปศึกษาต่อในระดับปริญญาโทด้านการแสดงและสอนไวโอลินที่ University of Oregon ซึ่งเธอได้เรียนไวโอลินกับอาจารย์ Kathryn Lucktenberg และ Fritz Gearhart นอกจากนั้นยังได้เรียนการสอนไวโอลินสำหรับเด็กเล็กในระบบซูซูกิจาก Shelley Rich ในระหว่างที่ศึกษาต่อ อ้อมพรได้เล่นกับวงต่างๆเช่น Oregon Mozart Players, Collegium Musicum, University Symphony Orechestra และวงดนตรีในรูปแบบchamber musicมากมาย นอกจากนี้เธอยังเป็นครูไวโอลินในระบบซูซูกิที่ Community Music Institute ในเมือง Eugene, Oregon ตลอดเวลาที่ศึกษาอยู่ที่นั่นด้วย ปัจจุบัน อ้อมพรมีสตูดิโอสอนไวโอลินสำหรับเด็กเล็กของตัวเอง และยังเล่นดนตรีอย่างสม่ำเสมอกับวง Bangkok String Quartet และ Bangkok Symphony Orchestra
ศิริพงษ์ ทิพย์ธัญ (ไวโอลิน)
ศิริพงษ์ เริ่มเรียนไวโอลินเมื่ออายุ7ขวบกับอ.เพลิน ศรีวัลลภ ภายหลังได้ศึกษาต่อกับอ. ภารดี ไตรวิทยา, อ.สุทิน ศรีณรงค์และ ผ.ศ. พันเอก ชูชาติ พิทักษากร ตามลำดับ ศิริพงษ์ได้รับเลือกให้เข้าร่วมโครงการระดับนานาชาติมากมาย หลังจากที่ได้เข้าเป็นนิสิตในโครงการช้างเผือกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทาลัยเพียงปีครึ่งศิริพงษ์ก็ได้รับทุนจาก Hong Kong Academy for Performing Arts จนสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี กับ Prof. Michael Ma ศิริพงษ์ได้รับรางวัลชนะเลิศการแข่งขันคอนแชร์โต้ที่ประเทศฮ่องกงสองครั้ง ติดต่อกันและได้รับทุน Duchess of Kent ในฐานะนักศึกษายอดเยี่ยม ในระหว่างการศึกษาที่ HKAPA นั้นศิริพงษ์ได้ร่วมทำ Master class กับนักไวโอลินระดับโลกเช่น Isaac Stern, Pinchas Zukerman, Cho-liang Lin, Joseph Silverstein, the Ysäye String Quartet, the Australian String Quartet. หลังจากจบการศึกษา ศิริพงษ์ได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้าวงซิมโฟนีออร์เคสตร้ากรุงเทพ(Concert master of Bangkok Symphony Orchestra) ซึ่งถือว่าเขาเป็นหัวหน้าวงที่อายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ของวงดุริยางค์ ซิมโฟนีกรุงเทพ ในปี 2544 ศิริพงษ์ได้รับทุนการศึกษาระดับปริญญาโท จาก University of Oregon ประเทศสหรัฐอเมริกาและทุนส่งเสริมดนตรีคลาสสิคในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระ เจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้ทำการศึกษาไวโอลินกับ Prof. Katherine Lucktenberg ระหว่างที่ทำการศึกษาเขาได้ร่วมเล่นกับวงซิมโฟนีออร์เคสตราระดับอาชีพหลายวง เช่น The Eugene Symphony Orchestra, The Oregon Mozart Player, นอกจากนั้นยังได้เข้าร่วม The Oregon Bach Festival ซึ่งถือว่าเป็นเทศกาลดนตรีที่ใหญ่ที่สุดในฝั่งตะวันตกของสหรัฐฯ ขณะนี้อาจารย์ศิริพงษ์เข้ามาเป็นอาจารย์ประจำวิทยาลัยดนตรี มหาวิทยาลัยรังสิต ในตำแหน่งหัวหน้าสาขาวิชาการแสดงดนตรีคลาสสิค และเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้ง the RSU Piano Trio, the Artists Ensemble และ the Bangkok String Quartet (BSQ)
Yuja wang (Pianist)
นักเปียโนชาวจีนวัย 23 ปี นามว่า Yuja Wang(หยูจา แวง) เป็นที่รู้จักกันดีในการเล่นที่ผสมผสานระหว่างจินตนาการอันกล้าหาญและเป็นธรรมชาติของหญิงสาวกับกฎเกณฑ์และหลักการเล่นของนักดนตรีรุ่นเก่า มักจะถูกยกย่องในการควบคุมบทเพลงด้วยเทคนิคอันมหัศจรรย์ การเล่นเปียโนของเธอนั้นสามารถนิยามได้ว่า “น่าแปลกใจ” หรือ “เหนือมนุษย์” ได้ เธอยังถูกชมในเรื่องเทคนิคที่ซับซ้อนที่สุดในการควบคุมบทเพลง ความเข้าใจอันลึกซึ้งที่มีต่อดนตรี รวมไปถึงการตีความบทเพลงและการแสดงบทเวทีที่นุ่มนวล มีเสน่ห์ดึงดูด หลังจากที่เธอได้มีการแสดงเดี่ยวเปียโนที่ San Francisco แล้ว หนังสือพิมพ์ The San Francisco Chronicle เขียนไว้ว่า “การมาถึงของนักเปียโนชาวจีนนามว่า Yuja Wang ในครั้งนี้เป็นการพัฒนาที่น่าเบิกบานและน่าตกใจในคราวเดียวกัน การที่จะฟังเธอเล่นเปียโนคือการเปลี่ยนความคิดเดิมๆที่คุณมีว่าจริงๆแล้วเปียโนจะถูกเล่นได้ดีแค่ไหน” เช่นเดียวกับหนังสือพิมพ์ Washington Post ที่กล่าวถึงการแสดงเดี่ยวเปียโนของ Yuja ว่า ทำให้หลายคนต้องอ้าปากค้างเลยทีเดียว
Yuja เป็นศิลปินในสังกัดของ Deutsche Grammophon . สำหรับอัลบั้มแรกของเธอนั้นมีชื่อว่า Sonatas & Etudes ซึ่งวางแผงในฤดูใบไม้ผลิในปี 2009 ซึ่งทางนิตยสาร Gramophone กล่าวว่า “มันเป็นการผสมผสานของเทคนิคที่สุดยอดกับสัญชาตญาณอันหายากของนักประพันธ์เพลง” ซึ่งทางนิตยสารยังได้มอบรางวัล Classic Fm Gramophone Awards 2009 ในฐานะศิลปินรุ่นใหม่แห่งปีอีกด้วย อัลบั้มนี้ยังถูกเสนอชื่อในรางวัล Grammy Award ในสาขาการแสดงบรรเลงดนตรีเดี่ยวและได้รางวัลอัลบั้มยอดเยี่ยมของศิลปินหน้าใหม่ในปี 2009 โดยนิตยสาร International Piano ส่วนอัลบั้มที่ 2 ของเธอที่มีชื่อว่า Transformation ซึ่งรวบรวมงานเพลงของ Stravinsky , Scarlatti , Brahms และ Ravel เพิ่งออกวางแผงในสังกัดของ Deutsche Grammophon ในวันที่ 13 เมษายน 2010 นี้เอง
อ้อมพร โฆวินทะ
อ้อมพร โฆวินทะ ได้รับการปลูกฝังความรักดนตรีจากโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัยตั้งแต่วัยเยาว์ และเริ่มเรียนไวโอลินเมื่ออายุ 13ปี กับอาจารย์ชูชาติ พิทักษากร หลังจากจบการศึกษาระดับมัธยมจากโรงเรียนมาแตร์ เดอี วิทยาลัย และโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาแล้ว ได้เข้าศึกษาในระดับปริญญาตรีที่ภาควิชาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยจบด้วยคะแนนเกียรตินิยมในปี 2540 อ้อมพรเข้าร่วมกิจกรรมดนตรีต่างๆมากมายในขณะกำลังศึกษาอยู่ เช่น Asean Youth Music Work Shop และ วงดุริยางค์เยาวชนไทย ซึงเธอเคยได้รับตำแหน่งหัวหน้าวงด้วย ในปี 2541 อ้อมพรได้รับทุนจาก Hong Kong Academy for Performing Artsให้เรียนไวโอลินกับอาจารย์ Micheal Ma เป็นเวลา1ปี เมื่อได้กลับมาประเทศไทยอ้อมพรได้เรียนไวโอลินเพิ่มเติมจากอาจารย์ทัศนา นาควัชระ อ้อมพรเดินทางไปศึกษาต่อในระดับปริญญาโทด้านการแสดงและสอนไวโอลินที่ University of Oregon ซึ่งเธอได้เรียนไวโอลินกับอาจารย์ Kathryn Lucktenberg และ Fritz Gearhart นอกจากนั้นยังได้เรียนการสอนไวโอลินสำหรับเด็กเล็กในระบบซูซูกิจาก Shelley Rich ในระหว่างที่ศึกษาต่อ อ้อมพรได้เล่นกับวงต่างๆเช่น Oregon Mozart Players, Collegium Musicum, University Symphony Orechestra และวงดนตรีในรูปแบบchamber musicมากมาย นอกจากนี้เธอยังเป็นครูไวโอลินในระบบซูซูกิที่ Community Music Institute ในเมือง Eugene, Oregon ตลอดเวลาที่ศึกษาอยู่ที่นั่นด้วย ปัจจุบัน อ้อมพรมีสตูดิโอสอนไวโอลินสำหรับเด็กเล็กของตัวเอง และยังเล่นดนตรีอย่างสม่ำเสมอกับวง Bangkok String Quartet และ Bangkok Symphony Orchestra
ศิริพงษ์ ทิพย์ธัญ (ไวโอลิน)
องค์ประกอบของดนตรีสากล
ดนตรีไม่ว่าจะเป็นของชาติใด ภาษาใด ล้วนมีพื้นฐานมาจากส่วนต่างๆ เหล่านี้ทั้งสิ้น ความแตกต่างในรายละเอียดของแต่ละส่วนแต่ละวัฒนธรรมนั้น เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง แต่การที่จะแตกต่างกันอย่างไรนั้น กรอบวัฒนธรรมของแต่ละสังคมจะเป็นปัจจัยที่กำหนดในตรงตามรสนิยมของแต่ละวัฒนธรรมจนเป็นผลให้สามารถแยกแยะดนตรีของชาติหนึ่งแตกต่างจากดนตรีของอีกชาติหนึ่งอย่างไร
องค์ประกอบของดนตรีสากล ประกอบด้วย
1. เสียง (Tone)
คีตกวีผู้สร้างสรรค์ดนตรี เป็นผู้ใช้เสียงในการสร้างสรรค์ผลิตงานศิลปะเพื่อรับใช้สังคม ผู้สร้างสรรค์ดนตรีสามารถสร้างเสียงที่หลากหลายโดยอาศัยวิธีการผลิตเสียงเป็นปัจจัยกำหนด เช่น การดีด การสี การตี การเป่า
เสียงเกิดจากการสั่นสะเทือนของอากาศที่เป็นไปอย่างสม่ำเสมอ ส่วนเสียงอึกทึกหรือเสียงรบกวน (Noise) เกิดจากการสั่นสะเทือนของอากาศที่ไม่สม่ำเสมอ ลักษณะความแตกต่างของเสียงขึ้นอยู่กบคุณสมบัติสำคัญ 4ประการ คือ ระดับเสียง ความยาวของเสียง ความเข้มของเสียง และคุณภาพของเสียง
1.1 ระดับเสียง (Pitch) หมายถึง ระดับความสูง-ต่ำของเสียง ซึ่งเกิดการจำนวนความถี่ของการสั่นสะเทือน กล่าวคือ ถ้าเสียงที่มีความถี่สูง ลักษณะการสั่นสะเทือนเร็ว จะส่งผลให้มีระดับเสียงสูง แต่ถ้าหากเสียงมีความถี่ต่ำ ลักษณะการสั่นสะเทือนช้าจะส่งผลให้มีระดับเสียงต่ำ
1.2 ความสั้น-ยาวของเสียง (Duration) หมายถึง คุณสมบัติที่เกี่ยวกับความยาว-สั้นของเสียง ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่สำคัญอย่างยิ่งของการกำหนดลีลา จังหวะ ในดนตรีตะวันตก การกำหนดความสั้น-ยาวของเสียง สามารถแสดงให้เห็นได้จากลักษณะของตัวโน้ต เช่น โน้ตตัวกลม ตัวขาว และตัวดำ เป็นต้น สำหรับในดนตรีไทยนั้น แต่เดิมมิได้ใช้ระบบการบันทักโน้ตเป็นหลัก แต่ย่างไรก็ตาม การสร้างความยาว-สั้นของเสียงอาจสังเกตได้จากลีลาการกรอระนาดเอก ฆ้องวง ในกรณีของซออาจแสดงออกมาในลักษณะของการลากคันชักยาวๆ
1.3 ความเข้มของเสียง (Intensity) ความเข้มของสียงเกี่ยวข้องกับน้ำหนักของความหนักเบาของเสียง ความเข้มของเสียงจะเป็นคุณสมบัติที่ก่อประโยชน์ในการเกื้อหนุนเสียงให้มีลีลาจังหวะที่สมบูรณ์
1.4 คุณภาพของเสียง (Quality) เกิดจากคุณภาพของแหล่งกำเนิดเสียงที่แตกต่างกัน ปัจจัยที่ทำให้คุณภาพของเสียงเกิดความแตกต่างกันนั้น เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น วิธีการผลิตเสียง รูปทรงของแหล่งกำเนิดเสียง และวัสดุที่ใช้ทำแหล่งกำเนิดเสียง ปัจจัยเหล่านี้ก่อให้เกิดลักษณะคุณภาพของเสียง ซึ่งเป็นหลักสำคัญให้ผู้ฟังสามารถแยกแยะสีสันของสียง (Tone Color) ระหว่างเครื่องดนตรีเครื่องหนึ่งกับเครื่องหนึ่งได้อย่างชัดเจน
2. พื้นฐานจังหวะ (Element of Time)
จังหวะเป็นศิลปะของการจัดระเบียบเสียง ที่เกี่ยวข้องกับความช้าเร็ว ความหนักเบาและความสั้น-ยาว องค์ประกอบเหล่านี้ หากนำมาร้อยเรียง ปะติดปะต่อเข้าด้วยกันตามหลักวิชาการเชิงดนตรีแล้ว สามารถที่จะสร้างสรรค์ให้เกิดลีลาจังหวะอันหลากหลาย ในเชิงจิตวิทยา อิทธิพลของจังหวะที่มีผลต่อผู้ฟังจะปรากฏพบในลักษณะของการตอบสนองเชิงกายภาพ เช่น ฟังเพลงแล้วแสดงอาการกระดิกนิ้ว ปรบมือร่วมไปด้วย
3. ทำนอง (Melody)
ทำนองเป็นการจัดระเบียบของเสียงที่เกี่ยวข้องกับความสูง-ต่ำ ความสั้น-ยาว และความดัง-เบา คุณสมบัติเหล่านี้เมื่อนำมาปฏิบัติอย่างต่อเนื่องบนพื้นฐานของความช้า-เร็ว จะเป็นองค์ประกอบของดนตรีที่ผู้ฟังสามารถทำความเข้าใจได้ง่ายที่สุด
ในเชิงจิตวิทยา ทำนองจะกระตุ้นผู้ฟังในส่วนของสติปัญญา ทำนองจะมีส่วนสำคัญในการสร้างความประทับใจ จดจำ และแยกแยะความแตกต่างระหว่างเพลงหนึ่งกับอีกเพลงหนึ่ง
4. พื้นผิวของเสียง (Texture)
“พื้นผิว” เป็นคำที่ใช้อยู่ทั่วไปในวิชาการด้านวิจิตรศิลป์ หมายถึง ลักษณะพื้นผิวของสิ่งต่างๆ เช่น พื้นผิวของวัสดุที่มีลักษณะขรุขระ หรือเกลี้ยงเกลา ซึ่งอาจจะทำจากวัสดุที่ต่างกัน
ในเชิงดนตรีนั้น “พื้นผิว” หมายถึง ลักษณะหรือรูปแบบของเสียงทั้งที่ประสานสัมพันธ์และไม่ประสานสัมพันธ์ โดยอาจจะเป็นการนำเสียงมาบรรเลงซ้อนกันหรือพร้อมกัน ซึ่งอาจพบทั้งในแนวตั้งและแนวนอน ตามกระบวนการประพันธ์เพลง ผลรวมของเสียงหรือแนวทั้งหมดเหล่านั้น จัดเป็นพื้นผิวตามนัยของดนตรีทั้งสิ้น ลักษณะรูปแบบพื้นผิวของเสียงมีอยู่หลายรูปแบบ ดังนี้
4.1 Monophonic Texture เป็นลักษณะพื้นผิวของเสียงที่มีแนวทำนองเดียว ไม่มีเสียงประสาน พื้นผิวเสียงในลักษณะนี้ถือเป็นรูปแบบการใช้แนวเสียงของดนตรีในยุคแรกๆ ของดนตรีในทุกวัฒนธรรม
4.2 Polyphonic Texture เป็นลักษณะพื้นผิวของเสียงที่ประกอบด้วยแนวทำนองตั้งแต่สองแนวทำนองขึ้นไป โดยแต่ละแนวมีความเด่นและเป็นอิสระจากกัน ในขณะที่ทุกแนวสามารถประสานกลมกลืนไปด้วยกัน
ลักษณะแนวเสียงประสานในรูปของ Polyphonic Texture มีวิวัฒนาการมาจากเพลงชานท์ (Chant) ซึ่งมีพื้นผิวเสียงในลักษณะของเพลงทำนองเดียว (Monophonic Texture) ภายหลังได้มีการเพิ่มแนวขับร้องเข้าไปอีกหนึ่งแนว แนวที่เพิ่มเข้าไปใหม่นี้จะใช้ระยะขั้นคู่ 4 และคู่ 5 และดำเนินไปในทางเดียวกับเพลงชานท์เดิม การดำเนินทำนองในลักษณะนี้เรียกว่า “ออร์กานุ่ม” (Orgonum) นับได้ว่าเป็นยุคเริ่มต้นของการประสานเสียงแบบ Polyphonic Texture หลังจากคริสต์ศตวรรษที่ 14 เป็นต้นมา แนวทำนองประเภทนี้ได้มีการพัฒนาก้าวหน้าไปมาก ซึ่งเป็นระยะเวลาที่การสอดทำนอง (Counterpoint) ได้เข้าไปมีบทบาทเพิ่มมากขึ้นในการตกแต่งพื้นผิวของแนวทำนองแบบ Polyphonic Texture
4.3 Homophonic Texture เป็นลักษณะพื้นผิวของเสียง ที่ประสานด้วยแนวทำนองแนวเดียว โดยมี กลุ่มเสียง (Chords) ทำหน้าที่สนับสนุนในคีตนิพนธ์ประเภทนี้ แนวทำนองมักจะเคลื่อนที่ในระดับเสียงสูงที่สุดในบรรดากลุ่มเสียงด้วยกัน ในบางโอกาสแนวทำนองอาจจะเคลื่อนที่ในระดับเสียงต่ำได้เช่นกัน ถึงแม้ว่าคีตนิพนธ์ประเภทนี้จะมีแนวทำนองที่เด่นเพียงทำนองเดียวก็ตาม แต่กลุ่มเสียง (Chords) ที่ทำหน้าที่สนับสนุนนั้น มีความสำคัญที่ไม่น้อยไปกว่าแนวทำนอง การเคลื่อนที่ของแนวทำนองจะเคลื่อนไปในแนวนอน ในขณะที่กลุ่มเสียงสนับสนุนจะเคลื่อนไปในแนวตั้ง
4.4 Heterophonic Texture เป็นรูปแบบของแนวเสียงที่มีทำนองหลายทำนอง แต่ละแนวมีความสำคัญเท่ากันทุกแนว คำว่า Heteros เป็นภาษากรีก หมายถึงแตกต่างหลากหลาย ลักษณะการผสมผสานของแนวทำนองในลักษณะนี้ เป็นรูปแบบการประสานเสียง
5. สีสันของเสียง (Tone Color)
“สีสันของเสียง” หมายถึง คุณลักษณะของเสียงที่กำเนิดจากแหล่งเสียงที่แตกต่างกัน แหล่งกำเนิดเสียงดังกล่าว เป็นได้ทั้งที่เป็นเสียงร้องของมนุษย์และเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ ความแตกต่างของเสียงร้องมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นระหว่างเพศชายกับเพศหญิง หรือระหว่างเพศเดียวกัน ซึ่งล้วนแล้วแต่มีพื้นฐานของการแตกต่างทางด้านสรีระ เช่น หลอดเสียงและกล่องเสียง เป็นต้น
ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเครื่องดนตรีนั้น ความหลากหลายด้านสีสันของเสียง ประกอบด้วยปัจจัยที่แตกต่างกันหลายประการ เช่น วิธีการบรรเลง วัสดุที่ใช้ทำเครื่องดนตรี รวมทั้งรูปทรง และขนาด ปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลโดยตรงต่อสีสันของเสียงเครื่องดนตรี ทำให้เกิดคุณลักษณะของเสียงที่แตกต่างกันออกไป
5.1 วิธีการบรรเลง อาศัยวิธีดีด สี ตี และเป่า วิธีการผลิตเสียงดังกล่าวล้วนเป็นปัจจัยให้เครื่องดนตรีมีคุณลักษณะของเสียงที่ต่างกัน
5.2 วัสดุที่ใช้ทำเครื่องดนตรี วัสดุที่ใช้ทำเครื่องดนตรีของแต่ละวัฒนธรรมจะแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมของสังคมและยุคสมัย วัสดุที่ใช้ทำเครื่องดนตรีที่แตกต่างกัน นับเป็นปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่ง ที่ส่งผลให้เกิดความแตกต่างในด้านสีสันของเสียง
5.3 ขนาดและรูปทรง ลักษณะของเครื่องดนตรีที่มีรูปทรงและขนาดที่แตกต่างกัน จะเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความแตกต่างกันในด้านสีสันของเสียงในลักษณะที่มีความสัมพันธ์กัน
6. คีตลักษณ์ (Forms)
คีตลักษณ์หรือรูปแบบของเพลง เปรียบเสมือนกรอบที่หลอมรวมเอาจังหวะ ทำนอง พื้นผิว และสีสันของเสียงให้เคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียวกัน เพลงที่มีขนาดสั้น-ยาว วนกลับไปมา ล้วนเป็นสาระสำคัญของคีตลักษณ์ทั้งสิ้น
คีตลักษณ์หรือรูปแบบของเพลง เปรียบเสมือนกรอบที่หลอมรวมเอาจังหวะ ทำนอง พื้นผิว และสีสันของเสียงให้เคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียวกัน เพลงที่มีขนาดสั้น-ยาว วนกลับไปมา ล้วนเป็นสาระสำคัญของคีตลักษณ์ทั้งสิ้น
ประเภทของเครื่องดนตรีสากล
1. ประเภทเครื่องสายมี 2 ชนิด
1.1ชนิดเกิดเสียงจากการสีอยู่ในตระกูล Vio มี 4 ขนาด ได้แก่ ไวโอลิน,วิโอลา,เชลโล,ดับเบิลเบส
2.2 ชนิดเกิดเสียงจากการเป่าผ่านลิ้น เช่น แซกโซโฟน,คราริเนท,โอโบฯลฯ
5.2 ชนิดเกิดเสียงจากการตีเป็นเสียงประกอบจังหวะ เช่น แทมบูลิน,มาราคาส,กลองทุกชนิด ฯลฯ
1.1ชนิดเกิดเสียงจากการสีอยู่ในตระกูล Vio มี 4 ขนาด ได้แก่ ไวโอลิน,วิโอลา,เชลโล,ดับเบิลเบส
1.2 ชนิดเกิดเสียงจากการดีด เช่น กีตาร์โปร่ง,กีตาร์ไฟฟ้า,กีตาร์เบส,ฮาร์ฟ ฯลฯ
2. ประเภทเครื่องเป่าลมไม้มี 2 ชนิด
2.1 ชนิดเกิดเสียงจากการเป่าผ่านช่องลมเช่นฟรุท,ปิคโคโล,เรคคอเดอร์
5. ประเภทเครื่องตีมี2ชนิด
5.1 ชนิดเกิดเสียงจากการตีเป็นทำนองเพลง เช่น เบลไลรา,ไซโลโฟน ฯลฯ
5.1 ชนิดเกิดเสียงจากการตีเป็นทำนองเพลง เช่น เบลไลรา,ไซโลโฟน ฯลฯ
5.2 ชนิดเกิดเสียงจากการตีเป็นเสียงประกอบจังหวะ เช่น แทมบูลิน,มาราคาส,กลองทุกชนิด ฯลฯ
สัญลักษณ์ทางดนตรี
การกำหนดให้เสียงมีระดับสูงต่ำกว่ากันตามชื่อเรียกได้ต้องมีบรรทัด 5 เส้น ภาษาอังกฤษเรียก สต๊าฟ (STAFF) ไว้สำหรับให้ตัวโน้ตยึดเกาะ มีส่วนประกอบคือ จำนวนเส้น 5 เส้น จำนวนช่อง 4 ช่อง
เส้น
โน้ตในช่อง A Child Enjoys Games
เส้น
การบันทึกตัวโน้ตลงบนบรรทัด 5 เส้นทำได้ 2 แบบ โดยการบันทึกจะต้องชัดเจนแน่นอน
1.ให้หัวตัวโน้ตวางบนเส้น (On a Line)
2.ให้หัวตัวโน้ตวางในช่อง (In a Space)
เราจะสามารถบอกชื่อตัวโน้ตต่างๆได้ ก็ต้องมีเครื่องหมายเฉพาะกำกับไว้ก่อนหน้าตัวโน้ต
เครื่องหมายเฉพาะนี้เรียกว่า เครื่องหมายประจำหลัก ที่เราจะศึกษานี้ มี 2 ชนิด
คือ กุญแจซอล อังกฤษเรียกว่า G Clef หรือ Treble Clef
เครื่องหมายเฉพาะนี้เรียกว่า เครื่องหมายประจำหลัก ที่เราจะศึกษานี้ มี 2 ชนิด
คือ กุญแจซอล อังกฤษเรียกว่า G Clef หรือ Treble Clef
ชื่อตัวโน้ตเมื่อเขียนลงบรรทัด 5 เส้นพร้อมกุญแจซอล
มีหลักเพื่อให้จำง่ายขึ้นคือ
มีหลักเพื่อให้จำง่ายขึ้นคือ
โน้ตคาบเส้น Every Good Boy Does Fine
โน้ตในช่อง FACE
กุญแจฟา อังกฤษเรียกว่า F Clef หรือ Bass Clef
ชื่อตัวโน้ตเมื่อเขียนลงบรรทัด 5 เส้นพร้อมกุญแจฟา
มีหลักเพื่อให้จำง่ายขึ้นคือ
มีหลักเพื่อให้จำง่ายขึ้นคือ
โน้ตในช่อง A Child Enjoys Games
เมื่อมีเส้นน้อยแล้ว ทำให้เรามีตัวโน้ตเพิ่มขึ้นทั้งทางเสียงสูงและเสียงต่ำ
ชื่อตัวโน้ตในบรรทัด 5 เส้น ของกุญแจซอล (Treble Clef)
ชื่อตัวโน้ตในบรรทัด 5 เส้น ของกุญแจซอล (Treble Clef)
ชื่อตัวโน้ตในบรรทัด 5 เส้น ของกุญแจฟา (Bass Clef)
· คือซีกลาง ( Middle C )
ตำแหน่งและลักษณะการบันทึกตัวโน้ต และตัวหยุดสำหรับโน้ตตัวขาว ตัวดำ หรือตัวเขบ็ตหนึ่งชั้นรวมทั้งการบันทึกตำแหน่งตัวหยุดลงบนบรรทัด 5 เส้นไม่ว่าจะอยู่ในกุญแจซอล หรือกุญแจฟา หรือกุญแจใดก็ตาม (ต้องเป็นโน้ตแนวเดียวไม่ใช่รูปแบบประสานเสียง)
ตำแหน่งและลักษณะการบันทึกตัวโน้ต และตัวหยุดสำหรับโน้ตตัวขาว ตัวดำ หรือตัวเขบ็ตหนึ่งชั้นรวมทั้งการบันทึกตำแหน่งตัวหยุดลงบนบรรทัด 5 เส้นไม่ว่าจะอยู่ในกุญแจซอล หรือกุญแจฟา หรือกุญแจใดก็ตาม (ต้องเป็นโน้ตแนวเดียวไม่ใช่รูปแบบประสานเสียง)
เราใช้วิธีการบันทึกดังนี้
ข้อสำคัญ ให้ถือเกณฑ์ เส้นที่ 3 ของบรรทัด 5 เส้น
เมื่อหัวตัวโน้ตอยู่ต่ำกว่าเส้นที่สามให้มีเส้นตรงชี้ขึ้น
ข้อสำคัญ ให้ถือเกณฑ์ เส้นที่ 3 ของบรรทัด 5 เส้น
เมื่อหัวตัวโน้ตอยู่ต่ำกว่าเส้นที่สามให้มีเส้นตรงชี้ขึ้น
แต่ถ้าหัวตัวโน้ตอยู่สูงกว่าเส้นที่สามให้มีเส้นตรงชี้ลง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)